เมื่อ Fake News ทำเราตื่นตูม! สืบหาข้อเท็จจริงยังไง?

ว่อนไม่แพ้ไวรัสช่วงนี้ คือ Fake News หรือ ข่าวปลอม
ยิ่งช่วงเกิด Pandemic (โรคระบาดใหญ่) ยิ่งทำให้มีโอกาสเกิด Infodemic
หรือภาวะข้อมูลผิดเพี้ยนจากข่าวสารโรคระบาดที่เล่าต่อๆกันมาสูง 
ถ้านั่งอ่านข่าวอยู่บ้านจนรู้สึกตื่นตระหนกไปหมด
วันนี้มาฝึกเป็นนักสืบหาข้อเท็จจริงจากข่าวปลอมกันค่ะ

Credit : www.unsplash.com

คุณสมบัติข้อแรกที่นักสืบควรมี คือ ‘ช่างสงสัย’
ต้องรู้จักจับผิดภาพที่แชร์ต่อๆกันมา 
สังเกตหลักฐาน แหล่งที่มา วันที่ คนเขียน แหล่งข่าว ข้อมูลสนับสนุนในข่าว
ข้อมูลเหล่านี้จะเป็น ‘พยาน’ ให้เราว่าข่าวนี้จริงหรือเท็จ น่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน

สิ่งสำคัญที่นักสืบต้องแยกให้ได้คือ ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง กับ ข้อมูลที่เป็นความคิดเห็น
เช่น โพสต์จากเพื่อนในโซเชียล โฆษณา รีวิวต่างๆ มักใส่ความเห็นส่วนตัวลงไป
หลายครั้งคนอ่านมักปักใจว่าความคิดเห็นหนึ่งของคนใน Twitter หรือ Facebook เป็นข่าวจริง
ทำให้แชร์ต่อกันไปเรื่อยๆ เกิดเป็นข่าวปลอมโดยคนอัพสเตตัสนั้นก็ไม่ได้ตั้งใจ

หลายครั้งข่าวปลอมมักแฝงมากับหัวข้อบทความที่พาดหัวเวอร์เกินจริง (Clickbait)
เมื่อคนอ่านแล้วรู้สึก ตกใจ ประหลาดใจ ตื่นเต้นกับหัวข้อข่าวมากๆ
ก็จะเริ่มแชร์ต่อกันไปโดยไม่ระวัง โดยที่บางครั้งไม่ได้อ่านเนื้อข่าวข้างในด้วยซ้ำ
นักสืบจึงต้องระวังอารมณ์ตัวเองให้ดีเวลาอ่านข่าว
ระวังอคติที่ทำให้เราสนับสนุนหรือเชื่อข่าวปลอมจากฝั่งใดฝั่งหนึ่งมากจนเกินไป 

การตรวจสอบข่าวปลอมไม่ได้ควรทำแค่ช่วงไวรัสระบาดเท่านั้น
แต่เราทุกคนควรเล่นบทนักสืบให้เป็นนิสัยทุกครั้งที่อ่านข่าวในชีวิตประจำวัน
เพราะการเชื่อข่าวปลอมเรื่องหนึ่ง อาจทำให้เรามองโลกเปลี่ยนไปเลยก็ได้

Credit : www.antifakenewscenter.com

สำหรับช่วงที่ข่าวปลอมเรื่องไวรัสระบาดหนักมากๆในช่วงนี้
เราสามารถใช้สื่อผู้ทำหน้าที่คัดกรองข่าวมาเป็นตัวช่วย
ในไทยมี Anti-Fake News Center Thailand ที่มีการอัพเดทสม่ำเสมอว่าข่าวการติดเชื้อที่ไหนไม่จริงบ้าง
สามารถเข้าไปดูได้ในเว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com รวมทั้งแจ้งและตรวจสอบข่าวปลอมผ่าน Line Official Account @anitfakenewscenter ได้อีกด้วย

สำหรับใครที่อยากศึกษาวิธีอ่านข่าวที่น่าเชื่อถืออย่างจริงจัง
เว็บไซต์ News Literacy Project มีสอนวิธีอ่านข่าวและระวังอคติของตัวเอง
แบบสั้น กระชับ เข้าใจง่าย ให้เข้าไปศึกษาได้ฟรีอีกด้วย

เราทุกคนสามารถช่วยกันเป็นพลเมืองดีได้ง่ายๆด้วยการ เช็กให้ชัวร์ก่อนแชร์
หยุดเป็น ‘Super Spreader’ แพร่ความกลัวด้วยวิธีง่ายๆแค่ ‘ไม่คลิกแชร์’ ข่าวปลอมนะคะ

ที่มาข้อมูล :
http://cclickthailand.com/contents/general/ข่าวปลอม.pdf
https://newslit.org/updates/how-to-know-what-to-trust-seven-steps/?fbclid=IwAR0zkXcT33dQRHiaPMIanRPo2J2wHgViXplwIPoHyJd59I1vyR09fpkPxLQ
https://www.npr.org/2019/10/29/774541010/fake-news-is-scary-heres-how-to-spot-misinformation

แสดงความเห็น