"Mind"

Introvert และ Extrovert “โซเชียล” อย่างไรในโซเชียลมีเดีย

หลายคนคงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วว่า ลักษะนิสัยในการ “โซเชียล” ของคนเรามี 2 แบบใหญ่ๆ นั่นคือ Introvert คนที่มีโลกส่วนตัวสูง และ Extrovert คนที่ชอบเข้าสังคม แล้วถ้าเป็นในโลกโซเชียลล่ะ ? เทคโนโลยีมีผลต่อลักษณะนิสัยในโลกออนไลน์ของเราอย่างไรบ้าง ?? สำหรับ Introvert โลกออนไลน์ที่ไม่เคยหลับใหลเปิดโอกาสให้ คนที่ไม่ชอบเข้าสังคมนักได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมากขึ้น ผ่านการคุยแชท โทรศัพท์ เว็บบอร์ด และอื่นๆ อีกมากมาย เพราะคนที่เป็น Introvert มักพูดน้อย แต่มีเรื่องราวที่คิดมากมายในหัว โซเชียลจึงอำนวยให้คนเหล่านี้ได้อัพสเตตัสยาวๆ หรือ เขียนเล่าเรื่องตัวเองผ่านตัวอักษร หรือ ภาพถ่าย โดยไม่ต้องรับแรงกดดัน หรือ เหนื่อยล้าจากการเจอหน้าคนเยอะๆ ซึ่งเป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย เพราะแม้จะทำให้สบายใจมากขึ้น แต่ถ้าหลบอยู่หลังหน้าจอมากเกินไป ก็อาจกลายเป็นคนเก็บตัวมากเกินไปได้ ส่วน Extrovert ที่ชอบเข้าสังคมและ Connect กับผู้คนตลอดเวลาในชีวิตจริงอยู่แล้ว  โซเชียลยิ่งช่วยให้ได้ติดต่อและอัพเดทเรื่องราวของเพื่อนๆ มากขึ้น รวมทั้งเปิดโอกาสให้ได้เจออีเว้นท์หรือการพบปะสังสรรค์สังคมใหม่ๆ ข้อเสียของโซเชียลมีเดียที่มีต่อ Extrovert คือ เมื่อเพื่อนเยอะ ก็มักติดตามเรื่องเพื่อนมากเกินไป จนรู้สึกขาดโซเชียลไม่ได้ กลัวตามไม่ทันคนอื่น หรือ อาการที่เรียกว่า […]

สเตตัสการพูดลอยๆ ในโซเชียล “Vaguebook” ทำไมเราไม่พูดกันตรงๆ

Vaguebook คือ การจงใจพูดลอยๆ กำกวม ไม่เจาะจงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทำให้คนส่วนใหญ่ที่อ่านต้องถามต่อว่าเกิดอะไรขึ้น เช่น “ขอพลังบวกหน่อย” “ไม่เข้าใจเลยทำไมทำแบบนี้” “เศร้าจัง” “ไม่เอาอีกแล้ว” “ตั้งตารอพรุ่งนี้” อ่านแล้วจะเกิดเครื่องหมายคำถามในหัวเต็มไปหมด ????? ว่าสรุปเกิดอะไรขึ้น ?! เมื่อคนอ่านไม่รู้ว่าสเตตัสกำลังพูดถึงเรื่องอะไร ทำให้คาดเดาอารมณ์คนเขียนไม่ถูก เศร้า เสียใจ ดีใจ แค่ไหน ปัญหาที่ระบายเป็นปัญหาใหญ่แค่ไหน หรือแค่พูดเล่นๆ ไม่ว่าจะโดยรู้ตัวหรือไม่ Vaguebook ถือเป็นการเรียกร้องความสนใจอย่างหนึ่ง  คล้ายๆ กับบทความแบบ Clickbait ในสื่อต่างๆ สมัยนี้ที่นิยมพาดหัวข่าวเวอร์ๆให้คนสนใจกดเข้าไปอ่านต่อ  เช่น “คุณจะต้องทึ่ง” “และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น” เช่นกัน Vaguebook เปรียบเสมือน Clickbait ในสเตตัสส่วนตัวที่กระตุ้นให้เพื่อนเข้ามาคอมเมนต์ ถามต่อว่าเป็นอะไรไหม เกิดอะไรขึ้น การเรียกร้องความสนใจในอินเทอร์เน็ต ทั้ง Vaguebook และ Clickbait ตามสื่อ เกิดกระแสต่อต้านทั้งคู่ เพราะพาดหัวข่าวเกินจริงของหลายสำนัก เป็นการเล่าเกินจริง ทำให้คนอ่านรู้สึกไม่ดี ส่วน Vaguebook นั้นก็มีกระแสไม่พอใจในหมู่คนเล่นโซเชียลทั่วโลกเพราะคนมักรู้สึกว่าเพื่อนเรียกร้องความสนใจเกินไป บางคนถึงกับตั้งแง่ไปเลยว่า […]

อ่านข่าวยังไงไม่ให้เครียด

โรคระบาด ไฟป่า เศรษฐกิจไม่ดี กราดยิงในห้าง แค่ต้นปีข่าวที่เสพก็แทบทำกุมขมับ… อยากจะลบโซเชียลมีเดีย ไม่ตามข่าวใดๆ ก็กลัวตามโลกไม่ทัน ความจริงแล้วการเสพสื่อก็คล้ายการเลือกทานอาหาร อาหารไม่มีประโยชน์และข่าวดราม่ามักอร่อย ยิ่งเสพยิ่งเพลิน แต่จะมีวิธีเสพข่าวยังไงให้ไม่เหนื่อยใจเกินไป วันนี้มีเคล็ดลับดีๆมาแชร์กันค่ะ 3 Tips When Toxic Topic is On the Table 1. Eat Clean : Don’t Consume Drama Like a Buffet แม้เนื้อหาข่าวเหมือนกัน แต่สื่อบางสื่ออาจใช้วิธีเขียนข่าว แบบปลุกปั่น ยั่วยุ หรือ นำเสนอ Fake News ข่าวปลอมที่ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดกว่าเดิม การตามอ่านข่าวร้ายมากมายจากคอมเมนต์หรือความเห็นจากสเตตัสของเพื่อน อาจดูเหมือนว่าเราทันเหตุการณ์แบบ Real Time ตลอดเวลา แต่การเลือกอ่านสรุปข่าวจากสื่อที่มีคุณภาพ จะทำให้จิตตกน้อยกว่าและมั่นใจได้มากกว่าว่าเป็นข่าวที่น่าเชื่อถือ 2. Eat Healthy : Find Sunny-Side Up […]

รู้ทันอารมณ์ตัวเองด้วย Mood Track

ทำไมเราควรบันทึกอารมณ์ตัวเอง ? แค่จดไดอารี่ว่าแต่ละวันเจออะไรบ้างยังไม่พอเหรอ ? ในโลกของ Big Data ยุคที่ข้อมูลส่วนบุคคลแทบทุกอย่างมีความสำคัญ ไม่เว้นแม้กระทั่งข้อมูลเล็กน้อยอย่างอารมณ์ของเราเอง มาดูกันค่ะว่า อารมณ์ในแต่ละวัน ช่วยให้เราเข้าใจตัวเองได้มากขึ้นอย่างไรบ้าง เพื่อนคนหนึ่งชื่อ คุณภูมิใจ เป็นนักออกแบบ ภูมิใจให้คะแนนอารมณ์ตัวเองตั้งแต่ 1-5 บันทึกไว้ใน Excel แล้วทำกราฟอารมณ์ในช่วงหลายเดือนออกมา สิ่งที่ภูมิใจค้นพบ คือ การบันทึกอารมณ์ช่วยทำให้เห็นสภาพอารมณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆมากขึ้น ซึ่งไม่ได้แย่อย่างที่คิด แม้มีหลายวันที่รู้สึกหม่นมาก แต่พอถอยออกมาดูภาพรวม ‘ชีวิตก็ยังแฮปปี้ดีอยู่’ มีเว็บไซต์หนึ่งที่มีโครงการชื่อ 100 days happy in a row โครงการนี้ท้าให้เรามีอารมณ์ยิ้มแย้มแจ่มใสติดกันครบ 100 วันให้ได้  แต่หลังจากเราได้บันทึกอารมณ์มาช่วงหนึ่งแล้ว ก็ค้นพบว่า ตัวเองมักจะมีวันที่หงุดหงิดเล็กน้อยแทรกเข้ามา 1-2 วันบ้าง 3-4 วันบ้างเสมอในแต่ละเดือน ยิ่งบันทึกไปเรื่อยๆหลายเดือนก็ยิ่งพบว่า แทบไม่มีทางเลยที่จะไม่หงุดหงิดอะไรเลยติดกัน 100 วัน แต่โดยรวม ก็ไม่ได้เศร้าโศก เป็นทุกข์หนักอะไรและ ‘ชีวิตก็ยังแฮปปี้ดีอยู่’ เช่นกัน ทั้งนี้ไม่ได้บอกว่าการพยายามมีอารมณ์ดีทุกวันเป็นเรื่องฝืนตัวเองเกินไป ขึ้นอยู่กับนิสัยและไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน เพียงแต่เราอาจไม่จำเป็นต้องฝืนตัวเองให้มีอารมณ์ดีทั้ง […]