รีวิว Samsung Smart Monitor M7 จอคอมมีรีโมท ทำงานก็ดี ดูหนังก็ได้!
อยากได้จอมอนิเตอร์ใหญ่ ใช้งานหลากหลาย ไม่ต้องต่อคอมก็ใช้ได้! บทความนี้รวมฟังก์ชั่นเจ๋ง ๆ จุดเด่นที่น่าสนใจของ Samsung Smart Monitor M7 มาฝาก
อยากได้จอมอนิเตอร์ใหญ่ ใช้งานหลากหลาย ไม่ต้องต่อคอมก็ใช้ได้! บทความนี้รวมฟังก์ชั่นเจ๋ง ๆ จุดเด่นที่น่าสนใจของ Samsung Smart Monitor M7 มาฝาก
อยากวางแผนซื้อประกัน เลือกยังไงดี มีกี่ประเภท และควรบริการค่าใช้จ่ายยังไง บทความนี้รวมมาให้ 3 ข้อต้องรู้ก่อนวางแผนซื้อประกัน!
เรื่องภาษีที่คนทำงานต้องรู้! ภ.ง.ด. 90/91 คืออะไร ยื่นภาษีต้องเตรียมอะไรบ้าง พร้อมวิธี ยื่นภาษี เองด้วยตัวเองง่าย ๆ ไม่ต้องไปถึงสรรพากร
เช็ครถเองไม่ใช่เรื่องยาก! มือใหม่+ผู้หญิงยุคใหม่ทำได้ จุดไหนจำเป็นต้องรู้ ดูแลยังไง บทความนี้มีไกด์ฉบับมือใหม่มาแนะนำให้ค่า
ท่องเว็บแล้วเด้งเข้า Yahoo ตลอด อยากลบ Yahoo ออกจาก Google อยากเสิร์ชแล้วเข้า Google เลย จะแก้ปัญหานี้ยังไง เรามีวิธีมาฝากค่า!
โลกยุคดิจิทัล ที่ความเป็นส่วนตัวของเรา ถูกอัปโหลดขึ้นไปบนโลกออนไลน์โดยเต็มใจ การหาผลประโยชน์และล่วงล้ำจากความเป็นส่วนตัวนี้ ไม่ยากเลย
“เราจะแน่ใจได้ยังไง ว่าเราเป็นหนึ่งเดียวในจักรวาล” จากข่าวฮือฮาที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ออกมายืนยันว่าคลิปวิดีโอที่กองทัพอากาศสหรัฐฯ ถ่ายวัตถุประหลาดที่บินบนท้องฟ้าหรือ UFO ได้นั้นคือของจริง! ซึ่งคลิปเหล่านั้นได้ถูกเผยแพร่ผ่านสื่อไปตั้งแต่ปี 2007 ถึงปี 2018 แล้ว และถึงแม้ว่าคลิปนี้จะเป็นคลิปจริง แต่ก็ไม่มีใครรู้ได้เลยว่าวัตถุประหลาดนั้นคืออะไร? แต่หากเป็นยานพาหนะของใครที่ไม่ใช่มนุษย์โลก นี่อาจจะเป็นแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ ให้รับรู้การมาของ “มนุษย์ต่างดาว” มีประโยคหนึ่งในหนังเรื่อง MIB ที่จำขึ้นใจ “มียานรบต่างดาว โรคระบาดข้ามกาแล็กซีมาตลอด แต่ทางเดียวที่จะทำให้มนุษย์อยู่อย่างมีความสุขต่อไปได้ คือการไม่รู้อะไรเลย” ทำให้รู้สึกกับตัวเองว่าจริง ๆ แล้วมนุษย์ต่างดาวอาจจะมาเยือนโลกหลายครั้ง อาจจะแฝงตัวอยู่ในกลุ่มคน แต่เราแค่ไม่รู้เท่านั้นเอง (หรือเราจะโดนลบความจำ 555) ดูเป็นเรื่องเพ้อฝัน แต่ก็อดสงสัยและอยากรู้ไม่ได้จริง ๆ เลยอยากชวนทุกคนหาคำตอบเรื่องนี้ไปพร้อมกัน จักรวาลนี้จะมีดาวที่เหมือนโลกหรือใครที่เหมือนเรา? เพียงแค่ในกาแล็กซี่ทางช้างเผือกที่เราอยู่ ก็ดูจะยิ่งใหญ่เกินที่จะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีดาวอยู่ประมาณ 1-4 แสนล้านดวง ในจักรวาลที่ดูจะไม่มีที่สิ้นสุดก็มีกาแล็กซี่อยู่อีกประมาณ 1-4 แสนล้านกาแล็กซี่ ลองคำนวนดู ดาวทั้งหมดในจักรวาล จะอยู่ที่ประมาณ 10 ยกกำลัง 22 ถึง 10 ยกกำลัง 24 […]
การพยายามสร้างผลงานที่การลอกเลียนแบบตัวตนของบุคคล เราคงเคยเห็นผ่านตามาบ้างตามงานศิลปะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพเหมือนของจิตรกร การปั้นดินเหนียวรูปมนุษย์ หรือแม้แต่ผลงานหุ่นขี้ผึ้งของมาดามทุสโซ โดยการสร้างดังกล่าวเป็นเพียงการจำลองความเหมือนของรูปลักษณ์ภายนอกให้อยู่ในกรอบที่จำกัด ไม่ได้แสดงท่าทางเคลื่อนไหว รวมไปถึงการพูดเพื่อให้เกิดการปฎิสัมพันธ์ใดใด จึงเป็นเรื่องง่ายที่มนุษย์อย่างเราจะสามารถแยกแยะได้ว่าอันไหนจริง อันไหนจำลองขึ้น ผิดกับ Deepfakes ที่ไม่เพียงสร้างความเข้าใจผิดในเรื่องของรูปลักษณ์ แต่ยังส่งผลกระทบไปถึงการบิดเบือนข้อมูลจนนำไปสู่ความโกลาหล อีกทั้งตัวมนุษย์เองยังต้องใช้ระยะเวลาที่นานพอสมควรกว่าจะรับรู้ได้ว่านี่ไม่ใช่ตัวจริง ข้อมูลที่สื่อสารอยู่ก็ไม่ใช่เรื่องจริง แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถแยกแยะสิ่งเหล่านี้ได้อย่างเด็ดขาด กว่าจะรู้ตัวผลกระทบที่เกิดขึ้นก็อาจจะบานปลายเกินควบคุม วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้า Deepfakes ว่าคืออะไร จุดเริ่มต้นการใช้เทคโนโลยีนี้มาจากไหน ทำไมเทคโนโลยีนี้ที่ดูเหมือนจะเป็นเพียงเรื่องขำขัน กลับสามารถสร้างแรงกดดันถึงขั้น Google , Twitter Facebook รวมถึงองค์กรเจ้าใหญ่อื่นๆ ต้องลงมาจัดการควบคุมเรื่องนี้ด้วยตัวเอง เราจะมาหาคำตอบกันในบทความนี้ จุดกำเนิด Deepfakes คำว่า Deepfakes นั้นถูกนำมาใช้จำกัดความให้กับวิดีโอที่ถูกปลอมขึ้นมาโดยใช้เทคโนโลยี A.I. ซึ่งคำจำกัดความนี้เกิดจากการผสานรวมกันสองคำระหว่างคำว่า “Deep” ซึ่งหมายถึง “Deep Learning” หนึ่งในรูปแบบการทำงานของ A.I. ที่ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบันเพื่อใช้ในการแยกแยะข้อมูลที่ซับซ้อนให้แม่นยำขึ้นกว่าวิธีการปกติ เช่น การแยกแยะภาพนิ่งตามอัตลักษณ์ , การแยกแยะบุคคลในวิดีโอ , การจำแนกเสียงของตัวบุคคล , การวิเคราะห์โรคทางการแพทย์ต่าง ๆ ฯลฯ […]
นับเป็นเวลาหลายทศวรรษที่เทคโนโลยีหุ่นยนต์พยายามเข้ามามีบทบาทและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา โดยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งตัวระบบการประมวลผล และฟังก์ชันการทำงาน เรียกได้ว่าเตรียมขึ้นเป็นแรงงานที่มีศักยภาพได้เทียบเท่ามนุษย์ เช่น การคำนวณเชิงตรรกะ การเลียนแบบพฤติกรรมพื้นฐานของมนุษย์ อย่างการเดิน วิ่ง ล้มแล้วลุกด้วยตัวเอง ยกของ เป็นต้น ซึ่งฟังก์ชันพฤติกรรมที่เหมือนมนุษย์เหล่านั้นจะถูกประยุกต์ให้ทดแทนการทำงานของมนุษย์อย่างการขนของ หรือการกู้ภัยในพื้นที่ที่เสี่ยงอันตราย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับมนุษย์เองและเสริมสร้างเรื่องของประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งปัจจุบันหุ่นยนต์ที่มีฟังก์ชันที่กล่าวถูกพัฒนาขึ้นแล้วโดยบริษัท Boston Dynamics ผู้เชียวชาญด้านการพัฒนาหุ่นยนต์ผนวกเข้ากับเทคโนโลยีสมองกลอัจฉริยะอย่าง A.I. เพื่อช่วยในการก้าวข้ามขีดจำกัดการทำงานในอดีตให้สูงขึ้น ชื่อของ Boston Dynamics ถูกพูดถึงกันอย่างหนาหูในช่วงไม่กี่ปีมานี้ จากคลิปวิดีโอผลงานที่ทางบริษัทได้ปล่อยออกมาเอง ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์รูปร่างคล้ายมนุษย์ Atlas ที่โชว์ความสามารถในการวิ่ง กระโดดและตีลังกาหลังได้ ซึ่งทำได้ออกมาเกือบจะเป็นธรรมชาติอย่างมาก หรือหุ่นยนต์รูปร่างคล้ายสุนัข Spot ที่สร้างความตื่นเต้นคนที่พบเห็นกับความสามารถในการเปิดประตู ปอกเปลือกกล้วย ช่วยขนของ และสำรวจพื้นที่ คาดว่าในอนาคต เจ้าหุ่นยนต์เหล่านี้จะกลายเป็นผู้ช่วยของมนุษย์ได้อย่างดีเยียมในโลกของอุตสาหกรรมแรงงาน สิ่งที่เราจะมาชวนคุย ไม่ใช่เรื่องความน่ายินที่ Boston Dynamics เป็นคนทำ กลับเป็นอนาคตที่กำลังจะตามมากับการใช้ชีวิตของมนุษย์ร่วมกันกับหุ่นยนต์ว่ากำลังจะดำเนินไปในทิศทางไหน ความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดขึ้น เมื่อเราผนวกเอาอารยธรรม และองค์ความรู้ทุกอย่างลงไปในสมองกลและติดตั้งให้กับหุ่นยนต์เหล่านี้ เพื่อหวังจะให้มาคอยช่วยเหลือมนุษย์ หรืออาจจะได้ผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามแทนกันแน่ แต่ก่อนหน้าที่เราจะพูดถึงเรื่องนั้น เรามาทำความรู้จักบริษัทนี้กันพอสังเขปกันก่อนดีกว่า ว่ามีความเป็นมาอย่างไร และมีการพัฒนาอะไรมาบ้างก่อนจะมาถึงปัจจุบัน […]
ลองจินตนาการดูกันนะครับ วันหนึ่งเราอาจตื่นขึ้นมาแลัวพบว่ามนุษย์บางส่วนในโลกถูกทดแทนด้วยหุ่นยนต์ ไม่ว่าจะบนท้องถนน ในสำนักงานหรือในบ้านเราก็ตาม ก็คงจะมีคำถามว่าเราจะอยู่ร่วมกันอย่างไร เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเพราะทุกวันนี้คุณ ๆ ก็มีชีวิตร่วมกับหุ่นยนต์หรือ AI อยู่แล้วไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง วันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับที่มาที่ไปของ AI ในอีกแบบหนึ่ง เพื่อที่จะทำความเข้าใจและเตรียมรับมือกับเทคโนโลยีที่กำลังเปลี่ยนโลกในทุกวันนี้ ที่ไอน์สไตน์กล่าวไว้ว่า “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” น่าจะใช้ได้กับทุกวงการจริง ๆ โดยเฉพาะในศิลปะภาพยนตร์เพราะประสบการณ์อันน่าตื่นตาตื่นใจในภาพยนตร์ในอดีต อันเกิดจากจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของผู้เขียนบทภาพยนตร์ สิ่งเหล่านั้นก็ได้กลายมาเป็นจริงในปัจจุบันและมีอิทธิพลและสร้างแรงบันดาลใจให้กับใครหลายคนได้อย่างมหาศาล ในปี 2469 ฟริทซ์ แลง นักสร้างภาพยนตร์ชาวออสเตรียได้สร้างภาพยนตร์เรื่อง Metropolis ด้วยทุนมหาศาล Metropolis ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพยนตร์วิทยาศาสตร์คลาสสิคที่ดีที่สุดตลอดกาล จุดเด่นของหนังเรื่องนี้คือการปรากฎตัวของหุ่นยนตร์สาว ซึ่งเป็นเรื่องใหม่มากในสมัยนั้นและได้กลายเป็นต้นแบบของหนังหุ่นยนต์อีกหลายเรื่องในเวลาต่อมา นี่คือสิ่งที่เรารู้จักกันใน พ.ศ.นี้และเรียกกันว่า A.I. Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ์ แล้วเราก็ได้เห็น AI ที่มีเนื้อหนังเป็นคนจริงๆ ในหนังของ สตีเวน สปีลเบิร์ก ที่มีชื่อเรื่องตรงๆ ว่า A.I. Artificial Intelligence ในปี 2544 […]