
สรุปเรื่องควรรู้ NFT/Fan Token สินทรัพย์ดิจิทัลแห่งอนาคต
NFT และ Fan Token กำลังมาแรง หลายแวดวงหันมาหาสนใจกันมากขึ้น ทิศทางในอนาคต ของ เงินดิจิตอล นี้จะเป็นยังไง? บทความนี้เราสรุปให้ฟังค่ะ
NFT และ Fan Token กำลังมาแรง หลายแวดวงหันมาหาสนใจกันมากขึ้น ทิศทางในอนาคต ของ เงินดิจิตอล นี้จะเป็นยังไง? บทความนี้เราสรุปให้ฟังค่ะ
หลายธุรกิจล้มเป็นโดมิโน ในยุคโควิด แต่ “Sunday” สตาร์ทอัพ ประกัน InsurTech คว้าดีลระดมทุนรอบ Series B ได้ มีกลยุทธ์อะไร ที่ทำให้สำเร็จ ?
นักวิจัยเปลี่ยนไม้ให้เป็นฟองน้ำ เพื่อสร้างพลังงานไฟฟ้า ทุกวันนี้เรื่องของพลังงาน เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่นักวิจัยให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าสร้างหุ่นยนต์หรือ AI เลย ยิ่งในช่วงหลัง ๆ นี้ก็มีการพัฒนากันเยอะขึ้น และสามารถทำออกมาได้ดีอีกด้วย พลังงานไฟฟ้า ถือว่าเป็นหนึ่งในพลังงานที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของเรา อย่างที่เห็นได้ง่ายที่สุด คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านหรือรถยนต์เอง ที่ทุกวันนี้หลาย ๆ บริษัทได้พัฒนาเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้าแทนน้ำมันมากขึ้น และพลังงานไฟฟ้าที่เราใช้ส่วนใหญ่ได้มาจากการเผาไหม้ถ่านหิน ซึ่งเป็นวิธีที่ถูกใช้มามากว่าร้อยปี ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายต่อโลกและมนุษย์มาก ๆ เนื่องจากกระบวนการเผาถ่านหินเพื่อนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงในการสร้างไฟฟ้าได้ปล่อยก๊าซออกมาหลายชนิด เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide), ไนโตรเจนออกไซด์ (Nitrogen), ฝุ่น และปรอท ที่สามารถกระจายสู่อากาศและแหล่งน้ำ ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตได้ และในตอนนี้ยังไม่มีเทคโนโลยีใดที่จะสามารถใช้ดักจับปรอทที่ปล่อยออกมาจากการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินได้ มนุษย์จึงได้คิดค้นวิธีการผลิตพลังงานไฟฟ้า นอกจากวิธีการใช้ถ่านหิน, การใช้น้ำมัน หรือ พลังงานนิวเคลียร์ มาเป็นการผลิตจากพลังงานสะอาดต่าง ๆ เช่น พลังงานจากน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ ลม หรือแม้แต่การใช้วัสดุจากธรรมชาติอย่างซังข้าวโพด แกลบ ขี้เลื่อย มาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการผลิต เป็นต้น แต่ปัจจุบันมีอีกหนึ่งแนวคิดใหม่ที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ด้วยเหมือนกัน นั่นคือ “การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากไม้” วิธีการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากไม้ทำได้อย่างไร? ขั้นแรก […]
ปัญหาภาวะโลกร้อน อยู่กับเรามาอย่างยาวนานและรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งในยุคที่โลกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรมหลายประเภทก็เริ่มผุดขึ้นมามากมายเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของเราทุกวันนี้ หนำซ้ำตัวเราเองก็เป็นผู้สร้างมลพิษที่มากขึ้นทุกวันโดยไม่รู้ตัว ในปี 2020 ที่ผ่านมาอุณหภูมิโลกพุ่งสูงขึ้น ทำให้ตอนนี้โลกของเรามีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 14.9°C ซึ่งทำลายสถิติของปี 2016 ที่เคยถูกบันทึกไว้ว่าเป็นปีที่ร้อนที่สุด และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันก็มีแนวโน้มว่าอุณหภูมิโลกจะร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย ท่ามกลางยุคของความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี นี่ก็ยังถือได้ว่าเป็นช่วงทศวรรษที่สภาพอากาศเลวร้ายที่สุดเลยก็ว่าได้ ที่ผ่านมาหลาย ๆ องค์กรพยายามที่จะลดปัญหานี้ ด้วยการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อย่างการผลิตอาหารจากพืช หรือ Plant-based meats, รถยนต์ไฟฟ้า, โซล่าเซลล์, พลังงานสะอาด แต่ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่ดูจะเป็นแนวทางใหม่ ในการบรรเทาปัญหาของภาวะโลกร้อนนี้ นั่นคือ “การทดลองปิดกั้นแสงอาทิตย์” การทดลองปิดกั้นแสงอาทิตย์ คือโปรเจกต์ที่มีชื่อว่า The Stratospheric Controlled Perturbation Experiment (SCoPEx) เป็นการทดลองของทีมนักวิทยาศาสตร์จาก Harvard University และโครงการนี้ยังได้รับการสนับสนุนพัฒนาโครงการจากเงินส่วนตัวของ Bill Gates อีกด้วย โครงการนี้เป็นหนึ่งในเทคนิค Geoengineering หรือ การแทรกแซงระบบธรรมชาติของโลกขนาดใหญ่ […]
หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินชื่อนวัตกรรม 3D Printing กันมานานแล้วใช่ไหมคะ เพราะเทคโนโลยีนี้มีมาตั้งแต่ปี 1980 แล้ว วิธีการคือเราต้องมีโมเดล 3D ที่สร้างจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อย่างเช่น Autocad จากนั้นก็สั่งปรินท์โมเดลจากเครื่องพิมพ์สามมิติด้วยวัสดุที่ต่างกันออกไปแล้วแต่การใช้งาน เช่น ไนลอน, โพลีเมอร์เหลว, โลหะ เป็นต้นค่ะ ซึ่งตอนนี้เทคโนโลยี 3D Printing พัฒนาล้ำหน้าไปมาก ๆ แล้วนะคะ ทั้งใช้ผลิตอวัยวะเทียม ใช้ผลิตเนื้อสัตว์สำหรับทาน ไปจนถึงใช้สร้างบ้านเลยทีเดียว น่าสนใจใช่ไหมล่ะคะ ลองไปอ่านรายละเอียดกันเลยดีกว่าค่ะ 3D Bioprinting มิติใหม่ของการปลูกถ่ายอวัยวะ พอพูดถึงการปลูกถ่ายอวัยวะแล้ว หลาย ๆ คนคงนึกถึงการเอาอวัยวะบางส่วนของคุณ A มาใส่ในร่างกายคุณ B เท่านี้ใช่ไหมคะ แต่ที่จริงแล้วกว่าคุณหมอจะปลูกถ่ายอวัยวะ 1 อย่างได้ นอกจากจะต้องมีอวัยวะใหม่เพื่อปลูกถ่าย ยังต้องอาศัยความเข้ากันได้ระหว่างเนื้อเยื่อของผู้ปลูกถ่ายกับผู้รอรับการปลูกถ่ายด้วยค่ะ รวมถึงอีกหลายปัจจัย อย่างหลังปลูกถ่ายแล้ว อวัยวะที่ได้รับการปลูกถ่ายอาจเจอการต่อต้านจากร่างกายเลยต้องทานยารักษาซึ่งอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน หรือจะเป็นเรื่องของเวลาเก็บรักษาอวัยวะที่สามารถอยู่นอกร่างกายได้เพียง 4-6 ชั่วโมงเท่านั้นค่ะ แต่ยังมีอุปสรรคสำคัญคือปริมาณผู้บริจาคอวัยวะไม่สมดุลกับผู้รอได้รับการปลูกถ่ายค่ะ ปัจจุบันเลยมีจำนวนผู้รอการปลูกถ่ายประมาณ 5,700 […]
ในอนาคตผู้ป่วยอัมพาตอาจจะกลับมาช่วยเหลือตัวเองได้! เรื่องนี้จะเกิดขึ้นจริงได้ยังไง มาไขคำตอบผ่านการทำความรู้จักนวัตกรรม Neuralink ไปด้วยกันนะคะ Neuralink คืออะไร ? Neuralink เป็นบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ของ Elon Musk โดยนวัตกรรมหลักที่บริษัทนี้ทำคือเชื่อมโยงสมองคนเข้ากับชิปคอมพิวเตอร์ แล้วแปลงคำสั่งของสมองออกมาเป็นการกระทำจริง ๆ เป้าหมายหลักของ Neuralink ในตอนนี้คือเพื่อรักษาผู้ป่วยอัมพาต พิการ ตาบอด ไปจนถึงผู้ป่วยซึมเศร้า หรือผู้ที่มีอาการเสพติดเลยค่ะ กระบวนการที่ Neuralink ใช้เรียกว่า BCI (Brain-Computer Interface) หรือบางครั้งก็ใช้ชื่อว่า BMI (Brain-Machine Interface) ค่ะ ซึ่งการพัฒนา BCI ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายนะคะ ตั้งแต่นักประสาทวิทยาศาสตร์, แพทย์, นักคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงวิศวกรชีวการแพทย์เลย ขั้นตอนการทำงานของระบบ BCI จะเป็นแบบนี้ค่ะ นำเครื่อง EEG (Electroencephalogram) มาจับภาพสัญญาณไฟฟ้าที่บริเวณสมอง วัดสัญญาณสมองและส่งค่าไปที่คอมพิวเตอร์ วิเคราะห์และแยกแยะสัญญาณสมอง แปลสัญญาณที่เกิดขึ้นและแสดงผล นำผลลัพธ์ไปเป็นคำสั่งควบคุมอุปกรณ์ หรือสรุปง่าย ๆ ว่า Neuralink […]
Big Data คืออะไร สำคัญอย่างไร ? หลายคนอาจะเคยเห็นคำว่า Big Data ผ่านตามาอยู่บ้าง แต่ก็อาจไม่เคยรู้ว่าจริง ๆ แล้ว Big Data คืออะไร สำคัญอย่างไร และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ Big Data กันค่ะ Big Data คือ ข้อมูลขนาดใหญ่ เป็นข้อมูลทั่วไปขององค์กรที่มีความหลากหลาย เช่น ข้อมูลบริษัท การทำรายการต่าง ๆ ข้อมูลลูกค้าและผู้ร่วมธุรกิจ ถูกจัดเก็บเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อในการพัฒนาองค์กรองค์ให้ดีขึ้น และ Big Data ยังแยกย่อยได้อีกหลายระดับ Volume : เป็นข้อมูลที่มีจำนวนมหาศาล Variety : เป็นข้อมูลที่มีความหลากหลาย ทั้งแหล่งที่มาและประเภทของข้อมูล Velocity : เป็นข้อมูลที่มีการหลั่งไหลเข้ามาตลอดเวลาและรวดเร็ว ผ่าน Internet of Things (IoT) Veracity : เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน […]
ช่วงหลายปีมานี้ เพื่อน ๆ คงได้ยินข่าวว่า AI อาจเข้ามาแย่งงานมนุษย์ใช่ไหมคะ หลาย ๆ คนเลยอาจจะกังวลว่า อาชีพที่ตัวเองทำอยู่นั้นเสี่ยงหรือเปล่า เราเลยขอมาแจกแจงให้เห็นภาพมากขึ้นค่ะว่า AI จะเข้ามาแทนที่อาชีพลักษณะไหน และอาชีพอะไรบ้างที่ยังปลอดภัยอยู่ อาชีพที่คุณทำอยู่เสี่ยงโดน AI แย่งงานแค่ไหน ? Kai Fu Lee ผู้เขียนหนังสือ AI Superpowers ได้แบ่งความเสี่ยงของอาชีพต่าง ๆ ออกเป็น 4 กลุ่มตามกราฟนี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าหลาย ๆ อาชีพมีความเสี่ยงเหมือนกัน แต่จะต่างกันที่เสี่ยงมากหรือเสี่ยงน้อยเท่านั้นเองค่ะ กลุ่มที่ 1 Danger Zone (โซนอันตรายมาก) คือ กลุ่มอาชีพที่ไม่ต้องใช้มนุษย์สัมพันธ์ ความคิดสร้างสรรค์ ความละเอียดอ่อน และการวางกลยุทธ์ รวมถึงมีสภาพแวดล้อมการทำงานคงที่ เลยมีความเสี่ยงสูงว่าจะโดน AI แย่งงานค่ะ เช่น พนักงานแคชเชียร์ […]
อยากได้จอมอนิเตอร์ใหญ่ ใช้งานหลากหลาย ไม่ต้องต่อคอมก็ใช้ได้! บทความนี้รวมฟังก์ชั่นเจ๋ง ๆ จุดเด่นที่น่าสนใจของ Samsung Smart Monitor M7 มาฝาก
อยากวางแผนซื้อประกัน เลือกยังไงดี มีกี่ประเภท และควรบริการค่าใช้จ่ายยังไง บทความนี้รวมมาให้ 3 ข้อต้องรู้ก่อนวางแผนซื้อประกัน!