กรณีพิพาทกันระหว่างบริษัทกับรัฐนั้นไม่ใช่ประเด็นที่เกิดขึ้นกันในช่วงข้ามคืนแน่นอนค่ะ เพราะก่อนจะมาถึงจุดนี้ก็ต้องมีจุดเริ่มต้นและเรื่องราวระหว่างนั้นว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ทำให้กลายเป็นประเด็นพิพาทกันยิ่งใหญ่จนส่งผลกระทบกันเป็นวงกว้างเช่นนี้ ซึ่งถ้าไปนั่งอ่านเองก็คงจะเหนื่อยแน่นอน
ดังนั้นเฟื่องจึงสรุปและคัดประเด็นหลัก ๆ ที่เฟื่องคิดว่าสำคัญมาฝากกันเพื่อให้ทุกคนเข้าใจกันว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วก็เลื่อนลงไปอ่านกันได้เลยค่ะ!
ปี 2018 : จุดเริ่มต้นของประเด็นนี้
9 มกราคม 2018 : เป็นอีเว้นท์ CES ที่ Huawei เปิดตัว Mate 10 Pro พร้อมประกาศว่าทาง AT&T ไม่ร่วมมือเพื่อจำหน่ายสินค้าของทาง Huawei เป็นครั้งแรก เป็นสัญญานแรก
13 กุมภาพันธ์ 2018 : ผอ. ของ FBI “Chris Wray” ออกมาแจ้งเตือนว่าตอนนี้อุปกรณ์ของ Huawei กับ ZTE ไม่ควรซื้อนักเพราะเป็นภัยต่อความมั่นคง
2 พฤษภาคม 2018 : ทำเนียบขาวประกาศห้ามจัดจำหน่ายสินค้าของ Huawei ในฐานทัพของสหรัฐอเมริกาทุกแห่ง เนื่องจากเป็นห่วงเรื่องการจารกรรมข้อมูลทางไซเบอร์
6 มิถุนายน 2018 : มีรายงานว่าทาง Facebook เปิดให้ Huawei เข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งานได้เป็นกรณีพิเศษ (Special access to user data)
7 มิถุนายน 2018 : สภาคองเกรสส่งจดหมายเปิดผนึกแจ้งให้ Larry Page ผู้บริหารบริษัท Alphabet บริษัทแม่ของ Google ให้เลิกทำการค้ากับทาง Huawei
19 กรกฎาคม 2018 : Huawei สามารถขายสมาร์ทโฟนของบริษัทได้ 100 ล้านชิ้นแล้วตั้งแต่เริ่มปีมา
1 สิงหาคม 2018 : Huawei ขึ้นนำ Apple เป็นผู้จำหน่ายสมาร์ทโฟนที่ขายดีเป็นอันดับ 2 ของโลก
7 กันยายน 2018 : มีการจับได้ว่า Huawei แจ้งผลคะแนน Benchmark ไม่ตรงกับความเป็นจริง
5 ธันวาคม 2018 : ทางกลุ่มบริษัท BT Group (บริษัทโทรคมนาคมของสหราชอาณาจักร) ประกาศจะเลิกใช้โครงข่าย 4G ของทาง Huawei ในปี 2021 และไม่ใช้ชุดระบบหลัก 5G ของ Huawei อีกด้วย
6 ธันวาคม 2018 : คุณเม่ง หว่านโจว ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน (CFO) ของ Huawei ถูกควบคุมตัวที่แคนาดาตามคำร้องขอจากทางสหรัฐฯ
7 ธันวาคม 2018 : สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าทางญี่ปุ่นจะเลิกอุดหนุนสินค้าของทาง ZTE และ Huawei
12 ธันวาคม 2018 : ศาลแคนาดาอนุมัติให้ประกันตัวคุณเม่ง ภายใต้วงเงิน 10 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ เท่ากับทาง CFO ของ Huawei ถูกควบคุมตัวไว้ 6 วัน
24 ธันวาคม 2018 : Huawei ทำยอดขายสมาร์ทโฟนของทางบริษัทได้ถึง 200 ล้านชิ้นแล้ว นับเป็นเวลาเพียง 158 วันเท่านั้นหลังจากทำยอดขายถึง 100 ล้านเครื่องไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2018
ปี 2019 : ทุกอย่างร้อนแรงจนถึงคำสั่งพิเศษของประธานาธิบดี
3 มกราคม 2019 : มีการรายงานว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ อาจจะใช้คำสั่งพิเศษของทางประธานาธิบดีกับทาง Huawei และ ZTE เพื่อแบนการสั่งซื้อสินค้า และวันต่อมา สภาซีเนตเปิดตัวใบแจ้งเตือนเพื่อใส่ใจสินค้าเทคโนโลยีจากทางจีนแผ่นดินใหญ่
8 มกราคม 2019 : Huawei พยายามต่อสู้เพื่อจะทำการค้าต่อในสหรัฐฯ โดยเปิดตัวคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก Huawei Matebook 13 และ Huawei MediaPad M5 เข้าสู่ตลาดเพื่อให้มีสินค้าชนิดอื่นนอกเหนือจากสมาร์ทโฟน
11 มกราคม 2019 : พนักงานของ Huawei Poland ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมเพราะจารกรรมข้อมูลเพื่อรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่ ทางสำนักงานใหญ่ Huawei จึงปลดพนักงานรายนั้นภายในสามวันต่อมา
18 มกราคม 2019 : แคนาดาประกาศแบน 5G ของทาง Huawei ตามสหรัฐฯ ทำให้ทางจีนออกมากล่าวว่า “การกระทำเช่นนี้อาจมีผลสะท้อนกลับในภายหลังได้”
29 มกราคม 2019 : ทางการสหรัฐฯ ยื่นฟ้อง Huawei 23 ข้อหา ว่าด้วยเรื่องของการฉ้อโกงและกรณีของ Tappy the robot ของ T-Mobile ด้วย แต่ทาง Huawei ปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด
30 มกราคม 2019 : มีกรณีพิพาทกับทาง Qualcomm เรื่องหนังสือลิขสิทธิ์ทางปัญญา เนื่องจากทาง Qualcomm เป็นคนถือหนังสือสิทธิ์ทางปัญญาว่าด้วยโครงข่าย 3G, 4G, 5G โดยถ้าบริษัทใดที่จะเชื่อมต่อต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้ทาง Qualcomm แม้ว่าจะไม่ได้ใช้ชิปของทางนั้นก็ตาม โดย Huawei ต้องชำระ 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อไตรมาส
6 กุมภาพันธ์ 2019 : ทางการสหรัฐฯ ให้การไม่มั่นใจสหภาพยุโรป กรณีการเลือกใช้อุปกรณ์ของทาง Huawei ในการวางโครงข่าระบบ 5G
17 กุมภาพันธ์ 2019 : ทางการสหราชอาณาจักรกล่าวว่าการใช้งานอุปกรณ์ของ Huawei เป็น “ความเสี่ยงที่ยอมรับและจัดการได้” ซึ่งคาดว่าทางการอังกฤษอาจจะให้ความมั่นใจสินค้าของทาง Huawei มากขึ้นแล้วนั่นเอง
19 กุมภาพันธ์ 2019 : CEO ของทาง Huawei คุณเหริน เจิ้งเฟย (Ren Zhengfei) กล่าวกับทาง BBC ว่า “ทางสหรัฐฯ ไม่มีทางทำลายพวกเขาได้แน่นอน”
20 กุมภาพันธ์ 2019 : CEO ของ Huawei คุณเหริน เจิ้งเฟย เห็นว่าการกระทำของทางสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นการจับกุมลูกสาวของตนและการกระทำต่าง ๆ “ราวกับการปลุกระดมทางการนโยบายบริหารประเทศ รวมทั้งมองสินค้าของทาง Huawei ไม่ต่างกับเทคโนโลยีทางการทหาร
วันต่อมา (21 กุมภาพันธ์ 2019) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ คุณไมก์ พอมเพโอ (Mike Pompeo) ได้ออกมากล่าวว่าประเทศที่ใช้สินค้าของทาง Huawei เป็นภัยต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ
8 มีนาคม 2019 – บริษัท Huawei ฟ้องรัฐบาลสหรัฐฯ กรณีการแบนสินค้าและอุปกรณ์ของทางบริษัท
12 มีนาคม 2019 – ทางสหรัฐฯ กล่าวกับทางการเยอรมนีว่า “ถ้าไม่ละทิ้งการใช้อุปกรณ์ของทาง Huawei ก็จะจำกัดการแบ่งปันองค์ความรู้ต่าง ๆ พร้อม ๆ กันกับวันนั้นที่ Huawei Mate 20 ทำยอดขายได้ 10 ล้านชิ้นในวันเดียวกัน
14 มีนาคม 2019 – บริษัท Huawei เปิดเผยว่ากำลังอยู่ระหวา่งพัฒนาระบบปฏิบัติการของตัวเองอยู่ เผื่อในกรณีที่ไม่สามารถนำระบบ Android หรือ Windows มาใช้งานกับอุปกรณ์ของตัวเองได้ ซึ่งตอนนี้เราจะได้ทราบชื่อกันโดยคร่าว ๆ แล้วว่าทาง Huawei เลือกใช้ชื่อว่า Hongmeng OS (หงเมิ่ง)
26 มีนาคม 2019 – Huawei เปิดตัว Huawei P30 Pro, P30 ที่ปารีส
29 มีนาคม 2019 – ทาง Huawei ตอบโต้ทางการสหรัฐฯ กลับว่าสิ่งที่พวกเขากระทำมาตลอดนั้น “เป็นทัศนคติและการกระทำของคนขี้แพ้” เพราะว่าเทคโนโลยีที่สหรัฐฯ มีอยู่นั้นไล่ตามทาง Huawei ไม่ทัน
8 เมษายน 2019 – ทาง Huawei ไฟเขียวที่จะขายชิป 5G ให้กับทาง Apple เพื่อนำไปใช้งาน เนื่องจากชิป 5G ที่ Apple ร่วมพัฒนากับทาง Intel นั้นเกิดปัญหาขึ้นและทำไม่ทัน จึงน่าจะไม่ได้นำมาใช้ในลiPhone รุ่นใหม่ รวมทั้งมีข้อพิพาทกับทาง Qualcomm อยู่ด้วย จึงนำโมเด็มของทาง Qualcomm มาใช้ไม่ได้เช่นกัน
9 เมษายน 2019 – ทางการสหรัฐฯ เลิกเรียกร้องให้แบนสินค้าของทาง Huawei ในเยอรมนีแล้ว
24 เมษายน 2019 – ทางการสหราชอาณาจักรเปิดให้ทาง Huawei เข้าถึงโครงข่าย 5G ได้ในระดับหนึ่ง จากนั้นไม่กี่วันทางการของจีนก็ผลักดันให้ทาง Huawei เข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดันและวางโครงข่าย 5G ภายในประเทศ
30 เมษายน 2019 – Vodafone พบ backdoors (รูรั่วของซอฟท์แวร์สำหรับขโมยข้อมูลในเครื่องนั้นได้) ในอุปกรณ์ของ Huawei ทว่าเป็นเพียงแค่ Telnet client หรือระบบสำหรับวิเคราะห์การทำงานเท่านั้น
โดยทาง Vodafone ก็แถลงเพิ่มเติมว่าช่องโหว่นี้ไม่สามารถเข้าถึงได้ผ่านทางอินเตอร์เน็ต และยังเป็นช่องโหว่ที่ใช้กันโดยทั่วไปในหมู่ผู้สร้างและจัดจำหน่ายสมาร์ทโฟนเพื่อทำการตรวจสอบความเสียหายของตัวเครื่อง (Diagnostic) เท่านั้น โดยเป็นความประมาทของทาง Huawei ที่ไม่ได้ปิดช่องโหว่นั้นทิ้งหลังจากพัฒนาและปรับแต่งระบบเสร็จแล้วเท่านั้น
8 พฤษภาคม 2019 : การเปิดให้บริการ 5G ภายในสหราชอาณาจักรอาจล่าช้าไปเนื่องจากการสอบสวนความปลอดภัยในการใช้งานระบบของ Huawei
15 พฤษภาคม 2019 : คำสั่งแบนบริษัท Huawei นั้นเป็นผลด้วยการใช้คำสั่งเพื่อความปลอดภัยของชาติ ซึ่งมีข่าวลือมาก่อนหน้านี้แล้วว่าสหรัฐฯ จะทำเช่นนี้
16 พฤษภาคม 2019 : ทาง Huawei กล่าวว่าการแบนครั้งนี้จะ “ส่งผลเสียอย่างมาก” กับบริษัทและอาชีพของชาวอเมริกันได้ ซึ่งเหมือนคำเตือนกลาย ๆ ของรัฐบาลจีนผ่านทาง Huawei ค่ะ ว่าถ้ามีการทำอะไรกับ Huawei แล้วก็อาจจะส่งผลต่อการตัดสินใจของทางรัฐบาลจีนเช่นกัน
19 พฤษภาคม 2019 : Google ประกาศหยุดให้การสนับสนุนการอัปเดทระบบต่าง ๆ ของ Android ให้กับสมาร์ทโฟนของ Huawei เนื่องด้วยคำสั่งพิเศษของทางประธานาธิบดี (Executive Order) นั่นเอง ก่อนจะเกิดเป็นข่าวใหญ่ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2019 ที่ผ่านมานั่นเองค่ะ