[How to] มาถ่ายภาพดวงจันทร์กันเถอะ! (SuperMoon)

สวัสดีค่ะทุกคนนน หลายคนคงได้ยินกันมาแล้วว่าในวันนี้ (14 พฤศจิกายน 2559) ตรงกับวันลอยกระทงบ้านเราพอดี จะเกิดปรากฏการณ์ Super Moon ขึ้น แล้ว Supermoon คืออะไร / เราจะถ่ายภาพยังไงให้สวย
เฟื่องจะไปหาคำตอบกันค่ะ

SuperMoon ดวงจันทร์เต็มดวงจะปรากฏในตำแหน่งใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี

super-moon-micro-moon-apogee-perigee-768x526

ความพิเศษของ SuperMoon

  • ดวงจันทร์จะเต็มดวงปรากฏตำแหน่งใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 68 ปี
  • ดวงจันทร์จะมีขนาดใหญ่กว่าปกติ 14 %
  • สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำเป็นต้นไป
ภาพ SuperMoon ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2013
ภาพ SuperMoon ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2013

โอกาสดีๆแบบนี้ทั้งที มีกล้องอยู่กับตัวกันแล้ว ทำไมถึงจะไม่อยากลองถ่ายภาพดวงจันทร์หายากกันล่ะ?

วันนี้เฟื่องเลยถือโอกาสรวบรวมเทคนิตถ่ายภาพพระจันทร์ให้ได้ช็อตเด็ดๆมาเก็บเป็นที่ระลึก และแชร์อวดเพื่อนกันหน่อย “ฝีมือช้านนน”
ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย!

การถ่ายภาพ SuperMoon

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

  1. กล้อง
  2. เลนส์เทเลซูม (ยิ่งซูมได้มาก ยิ่งถ่ายภาพได้ใกล้มาก) ใครมีเลนส์ซูมหนักๆไว้ถ่ายอปป้าอยู่แล้ว คราวนี้ได้เปรียบแน่นอนค่ะ
  3. ขาตั้งกล้อง
  4. รีโมทชัตเตอร์
  5. แบต, การ์ดหน่วยความจำ
  6. สถานที่ (หาโลเคชั่นสวยๆ โล่งๆ)

collage

การตั้งค่ากล้องเพื่อเตรียมถ่ายภาพ

สิ่งหนึ่งที่ควรรู้คือพระจันทร์สว่างมากอยู่แล้ว ดังนั้นเพื่อให้ไม่ได้รูปแบบ ลูกกลมๆง่อยๆ ไม่สวยงาม แต่ได้รายละเอียดความงดงามของดวงจันทร์
การตั้งค่ากล้องของเรา จึงต้องปรับทุกค่าให้กล้องเก็บภาพได้แบบไม่สว่างจ้าเกินไป

  1. โหมด : เลือกไปที่ โหมด M หรือ Manual เพื่อควบคุมปรับได้ทั้งหมด
  2. Speed Shutter : ควรปรับเอาไว้สูง ประมาณ  1/100 ขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับสถานที่) ชัตเตอร์สปีดยิ่งสูง ภาพยิ่งมืด
  3. ISO : ความไวแสง ก็ควรตั้งต่ำๆเช่นกัน ประมาณซัก 100-200 ไม่เกินนี้
  4. ค่ารูรับแสง (ค่าF) : ประมาณ f/11 กำลังดี (ค่ารูรับแสงยิ่งเยอะ ภาพยิ่งมืด)

วิธีการถ่ายภาพ SuperMoon

  1. หากมีอุปกรณ์ข้างต้นครบให้ใช้ขาตั้งกล้องและรีโมทชัตเตอร์ร่วมด้วย แต่
    – ถ้าไม่มีขาตั้งกล้อง + รีโมท: ให้พยายามถือกล้องให้นิ่งที่สุดแล้วปรับความเร็วชัตเตอร์ให้สัมพันธ์กับระยะของกล้อง
    – ถ้าไม่มีรีโมทชัตเตอร์แต่มีขา: ให้ตั้งค่าเวลาถ่ายภาพของกล้องแต่อย่าตั้งนานเพราะอาจทำให้พระจันทร์เคลื่อนที่ไปจนหลุดโฟกัส
  2. หากใช้ขาตั้งกล้องให้ปิดกันสั่นของเลนส์ เนื่องจากกันสั่นนั้นอาจทำให้กล้องสั่นเองเสียได้ (ระบบพวกนี้อาศัยมอเตอร์)
  3. ตั้งค่ากล้องตามที่เขียนไว้ข้างต้น ซึ่งผู้ถ่ายสามารถปรับเองได้ตามสถานการณ์ตรงหน้า เช่นหากไม่มีขาตั้งกล้องอาจจะต้องดัน Speed shutter ไปสูงหน่อยตามระยะของเลนส์
  4. อาจใช้ Live View ช่วยในการโฟกัสภาพเนื่องจากบางคนอาจแสบตาเมื่อมองภาพผ่านช่องมองภาพได้
  5. เริ่มถ่ายดวงจันทร์ได้เลย
  6. ถ้าไม่ได้ภาพที่ต้องการ เช่น สว่างไป มืดไป ภาพสั่น ให้ลองปรับการตั้งค่าดูใหม่

ตัวอย่างภาพเอาไปเป็นไอเดียในการถ่ายค่ะ

[su_slider source=”media: 8958,8959,8960,8961,8962,8963,8964,8965,8966,8967″ height=”450″]

[/su_slider]

ปล. นี่เป็นการรวบรวมข้อมูลมาจากการอ่านเว็บต่างๆอีกที เฟื่องยังไม่เคยถ่ายเองเช่นกัน (และเฟื่องไม่มีเลนส์ tele T__T)
แต่คิดว่า คืนนี้จะลองดูค่ะ