แนะนำ 5 แอปฯ เอาใจผู้สูงอายุที่ “พ่อกับแม่” ต้องมี!

หลังจากที่เพื่อน ๆ ทางบ้านถามกันเข้ามาว่ามีแอปฯ ดี ๆ เหมาะสำหรับผู้สูงอายุบ้างไหม ? 

วันนี้บอนเน่เลยจัดให้ค่ะ แอปพลิเคชั่นที่จะช่วยให้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุสะดวกขึ้น

เรามาเริ่มต้นกันที่

Magnifying Glass เมื่อมีแว่นขยาย จะอ่านอะไรก็ง่ายขึ้น
Credit: play.google.com/store

คนเราพออายุมากขึ้น ส่วนใหญ่สายตาก็จะเริ่มยาว ทำให้อ่านอะไรได้ไม่สะดวกเหมือนแต่ก่อนใช่ไหมคะ ? ยิ่งวันไหนลืมพกแว่นสายตายาวมาก็ต้องเพ่งสายตาจนทำให้ปวดหัว บางทีถึงแม้จะใส่แว่นก็อาจจะไม่ได้ช่วยอะไรมาก เพราะตัวหนังสือก็ยังเล็กเท่าเดิมอยู่ แอปฯนี้เลยตอบโจทย์ผู้สูงอายุ
สุด ๆ เพราะสามารถซูมสิ่งที่กำลังอ่านได้มากถึง 10 เท่า !! ถ้าหากอยู่ในที่มืดก็สามารถเปิดโหมดไฟฉายเพิ่มความสว่างได้ ช่วยลดปัญหาปวดตาเวลาต้องจ้องมือถือ หรืออ่านอะไรนาน ๆ ได้เยอะเลยค่ะ

Andriod – Magnifying Glass

iOS – Magnifying Glass 

Kinya แอปฯเตือนกินยา เบาหวาน ความดัน
Credit: play.google.com/store

“Kinya” หรือ “กินยา” แอปฯ ที่พัฒนาขึ้นโดยคุณหมอคนไทย เพื่อคนไข้กลุ่มที่ต้องทานยาทุกวัน วันละหลาย ๆ ตัว จนบางครั้งอาจมีเผลอทานสลับบ้าง ลืมบ้าง จนส่งผลให้การรักษาได้ผลไม่ดีนัก ก็เลยเป็นที่มาของแอปฯ นี้ ที่ทำหน้าที่เป็นพยาบาล มาช่วยเตือนความจำผู้สูงอายุว่าถึงเวลาทานยา ฉีดยาเบาหวาน ต้องวัดความดันแล้วนะ วิธีใช้ก็ง่ายมากเพราะเป็นภาษาไทยทั้งหมด แค่คนไข้ใส่รูปและชื่อยา จำนวนที่ต้องทานต่อครั้ง และเวลาที่ทาน พอถึงเวลา เสียงแจ้งเตือนก็จะดังขึ้น เตือนให้เราทานยานั่นเอง

แต่ว่าแอปฯ นี้มีเฉพาะบน Andriod นะคะ ส่วนสำหรับของ iPhone บอนเน่แนะนำเป็นแอปฯ
Mr. Pillster แทน ไม่ต้องกลัวสับสนเรื่องภาษาเพราะแอปฯนี้ก็มีภาษาไทยรองรับ ทำให้เข้าใจง่าย ที่สำคัญโหลดปุ๊ปก็ใช้บริการฟีเจอร์พื้นฐานฟรีได้เลย แต่ถ้าอยากอัพเกรดเป็นเวอร์ชั่นโปร ก็สามารถซื้อเพิ่มได้ ฟีเจอร์ที่เพิ่มมาก็จะเป็น การสำรองข้อมูลให้อัตโนมัติทุกวัน ไม่มีโฆษณาโชว์ให้กวนใจ และอีกมากมายค่าา

Andriod – Kinya

iOS – Mr. Pillster

BP Journal ไดอารี่บันทึกความดันโลหิต
Credit: play.google.com/store

ใครที่มีผู้สูงอายุที่บ้านคงทราบดีว่า การมีเครื่องวัดความดันโลหิตติดบ้านนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะผู้สูงอายุต้องวัดความดันทุกวัน วันละหลาย ๆ ช่วงเวลา และต้องมีการจดบันทึกอย่างละเอียด แต่ถ้าเขียนบนกระดาษก็มีโอกาสทำหาย เราก็เลยต้องพึ่งเทคโนโลยีสักหน่อย แอปฯ BP Journal ก็เหมือนกับไดอารี่บันทึกข้อมูลค่าความดันในแต่ละวัน ที่มีฟังชั่นก์วิเคราะห์ค่าได้ ดึงไฟล์ออกมาได้ ทำให้สะดวกต่อการติดตามผลสุขภาพ พอไปหาหมอก็โชว์ให้คุณหมอดู สะดวกมาก ๆ

แอปฯ บันทึกความดันโลหิตนี้มีเฉพาะบน Andriod ที่ให้โหลดใช้ฟรี !! แต่สำหรับของ iOS แนะนำเป็นแอปฯ Blood Pressure Companion แทน ที่การทำงานเหมือนกัน เชื้่อมต่อกับ Apple Watch ได้อีกด้วย ต่างกันแค่ชื่อแอปฯเองค่า

Andriod – BP Journal

iOS – Blood Pressure Companion

Grab / Lineman จะหิว จะไปไหน ขอให้บอก

คงไม่มีใครในที่นี้ไม่รู้จักแอปพลิเคชั่น grab หรือ lineman ที่ให้บริการส่งของ เรียกรถ สั่งอาหารทั้งคู่ ที่บอนเน่เห็นว่าสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ ที่สามารถเรียนรู้ ทำความเข้าใจได้ เผื่อเวลาที่อยากจะเดินทางไปไหนแต่ไม่มีคนสะดวกพาไป หรือไม่อยากขับรถ หรือวันไหนอยู่บ้านเบื่อ ๆ แล้วอยากทานอาหารจากข้างนอก ทั้งสองแอปฯ นี้ก็เหมาะมาก ๆ และมีความปลอดภัยสูง เพราะทางแอปฯ จะระบุประวัติคนขับอย่างชัดเจนหลังจากเรียกใช้บริการ จึงง่ายต่อการติดตาม จะจ่ายเงินก็แค่ตัดบัตร ซึ่งตอนแรกคุณแม่ของบอนเน่ก็ยังใช้ไม่เป็น แต่ตอนนี้เหรอ…สั่งอาหาร เรียกรถคล่องมาก

Andriod – Grab

iOS – Grab 

Andriod – Lineman

iOS – Lineman 

EMS1669 กดปุ๊ป มาปั๊ป

Credit: apps.apple.com/th/app



คุ้น ๆ เบอร์ “1669” กันไหมคะ ? มันคือเบอร์โทรฉุกเฉินเวลาเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด และเค้าก็มีเป็นแอปพลิเคชั่นด้วย จริง ๆ บอนเน่ว่าแอปฯนี้เหมาะกับทุกคนเลย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ควรมีติดเครื่อง เพราะว่ามันสะดวกต่อการติดต่อรถพยาบาลเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน วิธีใช้ก็คือเข้าไปในแอปฯ แล้วใส่ชื่อ นามสกุล ประวัติการแพทย์ การแพ้ยา เมื่อไหร่ที่เกิดเหตุฉุกเฉินก็เข้าแอปฯ แล้วกดปุ่มที่เขียนว่า “กดเพื่อเรียกรถพยาบาล” ระบบก็จะจับพิกัด รถพยาบาลที่ใกล้ที่สุดก็จะรีบมาที่เกิดเหตุ ที่สำคัญใมแอปฯยังสอนวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น  แจ้งพิกัดเครื่องกระตุกหัวใจในละแวกใกล้เคียงด้วย

Andriod – EMS 1669 

iOS – EMS 1669

บางทีเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกที่ผู้สูงอายุต้องการ อาจจะเป็นอะไรที่ไม่ซับซ้อน แต่ตอบโจทย์การใช้ขีวิตประจำวัน ซึ่งแอปฯทั้งหมดนี้บอนเน่ก็โหลดติดเครื่องคุณพ่อ คุณแม่ของบอนเน่เองไว้ด้วย เพื่อน ๆ คนไหนมีแอปฯอะไรดี ๆ ก็อย่าลืมบอกต่อกันนะคะ